รวมข้อมูลความรู้ด้านโซล่าเซลล์

รวมข้อมูลความรู้ด้านโซล่าเซลล์ พลังงานทดแทน

มาตรฐาน การออกแบบ ติดตั้ง ความปลอดภัย

รวมมาตรฐาน การออกแบบ การติดตั้ง ความปลอดภัย เทคนิคการติดตั้ง

การติดตั้ง มาตรฐานการติดตั้ง

เทคนิค และ อุปกรณ์งานติดตั้ง อุปกรณ์ประกอบระบบ

การซ่อมบำรุง การดูแลรักษา

การซ่อมบำรุงและการดูแลรักษา

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ แผงโซล่าเซลล์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ แผงโซล่าเซลล์ แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แผงโซล่าเซลล์ การใช้งาน การประยุกต์ใช้งานต่างๆ Solar cell

สำหรับการประยุกต์ใช้งาน แผงโซล่าเซลล์ นั้น คร่าวๆ ผมจะขอแนะนำดังต่อไปนี้ครับ

1. โครงการขนาดใหญ่ Solar Farm ( ขายไฟให้การไฟฟ้า)

2. โครงการขนาดเล็ก Solar Rooftop (ขายไฟให้การไฟฟ้า)
 -  2.1 Solar Rooftop บนหลังคาบ้าน ที่อยู่ อาศัย ขนาดไม่เกิน 10KWp

 -  2.2 Solar Rooftop บนหลังคาโรงงาน โรงแรม
 -  2.3 Solar Rooftop อื่นๆ จะลงรายละเอียดอีกทีนะครับ
3. ประยุกต์ใช้ตามชนบท พื้นที่ไม่มีไฟฟ้า เข้าถึง ทุ่งนา ปั้มน้ำ การเกษตร

4. ประยุกต์ใช้ลดค่าไฟฟ้า ภายในบ้าน (ไม่ขายไฟ)

5. ประยุกต์ใช้ร่วมกับหลอดไฟ LED , LED Solar street lighting


อื่นๆ จะ อัฟเด็ทเป็นลำดับถัดไปครับ 

แนวทางการออกแบบ ติดตั้ง และบำรุงรักษาระบบ Solar Rooftop อย่างปลอดภัยและคุ้มค่า

 แนวทางการออกแบบ ติดตั้ง และบำรุงรักษาระบบ Solar Rooftop อย่างปลอดภัยและคุ้มค่า (วสท)





วสท อยู่ระหว่างร่างมาตรฐาน (เด่วจะเอาข้อมูลมาอัฟเด็ทกันครับ)

แผงโซล่าเซลล์ พลังงานแสงอาทิตย์ Solar cell

แเผงโซล่าเซลล์ คืออะไรเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell)เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์กรรมทางอิเลคทรอนิกส์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ และทันทีที่แสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของแสงที่มีัอนุภาคของพลังงานประกอบที่เรียกว่า โฟตอน (Proton) จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน (Electron) ในสารกึ่งตัวนำจนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจากแรงดึงดูดของอะตอม (atom) และเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ครบวงจรจะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น เมื่อพิจารณาลักษณะการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์พบว่า เซลล์แสงอาทิตย์จะมีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งสอดคล้องและเหมาะสมในการนำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ผลิตไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน 

เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน
แบบผลึกเดี่ยว
( Single Crystal )
แบบผลึกรวม
( Poly Crystal )
แบบอะมอร์ฟัส
( Amorphous )



ประเภทของ " เซลล์แสงอาทิตย์ "

เซลล์แสงอาทิตย์ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. กลุ่ม เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน จะแบ่งตามลักษณะของผลึกที่เกิดขึ้น คือ แบบที่เป็น รูปผลึก 
( Crystal ) และแบบที่ไม่เป็นรูปผลึก (Amorphous) แบบที่เป็นรูปผลึก จะแบ่งออกเป็น2 ชนิด คือ ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิคอน ( Single Crystalline Silicon Solar Cell) และ ชนิดผลึกรวมซิลิคอน ( Poly Crystalline Silicon Solar Cell) แบบที่ไม่เป็นรูปผลึก คือ ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิคอน ( Amorphous Silicon Solar Cell)

2. กลุ่มเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารประกอบที่ไม่ใช่ซิลิคอน ซึ่งประเภทนี้ จะเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 25% ขึ้นไป แต่มีราคาสูงมาก ไม่นิยมนำมาใช้บนพื้นโลก จึงใช้งานสำหรับดาวเทียมและระบบรวมแสงเป็นส่วนใหญ่ แต่การพัฒนาขบวนการผลิตสมัยใหม่จะทำให้มีราคาถูกลง และนำมาใช้มากขึ้นในอนาคต
 ( ปัจจุบันนำมาใช้เพียง 7 % ของปริมาณที่มีใช้ทั้งหมด )
ข้อมูลเพิ่มเติม 
http://www3.egat.co.th/re/solarcell/solarcell_technology.htm